เงินปันผล คือ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สมาชิกได้ร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์ออมทรัพย์ โดยคิดคำนวณจากเงินของสมาชิก
ที่ลงทุนถือหุ้นในสหกรณ์ออมทรัพย์ ในอัตราที่ประกาศตามกฎกระทรวงและกฎหมายที่เกี่ยวข้องปัจจุบันไม่เกิน ร้อยละ 10 ต่อปี
เงินเฉลี่ยคืน คือ เงินที่สหกรณ์จ่ายคืนให้แก่สมาชิกตามส่วนจำนวนรวมแห่งดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งสมาชิกนั้น ๆ ได้ส่งแก่สหกรณ์
ในระหว่างปี แต่หากสมาชิกผิดนัดการส่งเงินงวดชำระหนี้ไม่ว่าต้นเงินหรือดอกเบี้ยในปีใด มิให้ได้รับเงินเฉลี่ยคืนสำหรับปีนั้น
วิธีการคิดเงินปันผล
มีวิธีคิดดังนี้ เงินปันผล = ทุนเรือนหุ้น x อัตราเงินปันผล x ระยะเวลา(จำนวนวัน)
100 จำนวนวัน(ในปี)
ตัวอย่าง นายบุญมี มียอดเงินทุนเรือนหุ้นสิ้นปี 2565 จำนวน 100,000 บาท ระหว่างปี 2566 นายบุญมี ส่งเงินค่าหุ้น
เดือนละ 1,000 บาท และวันที่ 15 มีนาคม 2566 นายบุญมี ซื้อหุ้นเพิ่มอีก 10,000 บาท
เพราะฉะนั้น นายบุญมี จะมียอดทุนเรือนหุ้น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวน 122,000 บาท
(100,000 + (1,000 x 12 = 12,000) + 10,000)
สมมุติ ที่ประชุมใหญ่มีมติให้จ่ายเงินปันผลในอัตราร้อยละ 5.25
จากตัวอย่าง จะต้องแยกคำนวณ 3 ส่วน คือ
1) ทุนเรือนหุ้นสิ้นปี 2565 จำนวน 100,000 บาท จะได้รับเงินปันผล = 100,000 x 5.25/100 = 5,250 บาท
2) ทุนเรือนหุ้นระหว่างปี 2566 นายบุญมี ส่งเดือนละ 1,000 บาท (หักจากเงินเดือน) ต้องคำนวณรายวัน ดังนี้
วันที่หักเงินเดือน | ทุนเรือนหุ้น | จำนวนวันคำนวณจากวันที่หักเงินเดือนถึง 31 ธ.ค.66 | การคำนวณเงินปันผล | เงินปันผลที่ได้ | |
---|---|---|---|---|---|
27 ม.ค.66 | 1,000 | 339 | 1,000 x 5.25/100 x 339/365 | = | 48.76 |
27 ก.พ.66 | 1,000 | 308 | 1,000 x 5.25/100 x 308/365 | = | 44.30 |
27 มี.ค.66 | 1,000 | 280 | 1,000 x 5.25/100 x 280/365 | = | 40.27 |
27 เม.ย.66 | 1,000 | 249 | 1,000 x 5.25/100 x 249/365 | = | 35.82 |
26 พ.ค.66 | 1,000 | 220 | 1,000 x 5.25/100 x 220/365 | = | 31.64 |
27 มิ.ย.66 | 1,000 | 188 | 1,000 x 5.25/100 x 188/365 | = | 27.04 |
27 ก.ค.66 | 1,000 | 158 | 1,000 x 5.25/100 x 158/365 | = | 22.73 |
25 ส.ค.66 | 1,000 | 129 | 1,000 x 5.25/100 x 129/365 | = | 18.55 |
27 ก.ย.66 | 1,000 | 96 | 1,000 x 5.25/100 x 96/365 | = | 13.81 |
27 ต.ค.66 | 1,000 | 66 | 1,000 x 5.25/100 x 66/365 | = | 9.49 |
27 พ.ย.66 | 1,000 | 35 | 1,000 x 5.25/100 x 35/365 | = | 5.03 |
27 ธ.ค.66 | 1,000 | 5 | 1,000 x 5.25/100 x 5/365 | = | 0.72 |
รวม | 12,000 | – | เงินปันผล | = | 298.16 |
3) ซื้อหุ้นเพิ่มระหว่างปี 2566 วันที่ 15 มีนาคม 2566 นายบุญมี ซื้อหุ้นเพิ่มอีก 10,000 บาท
(คำนวณจากวันที่ซื้อ 15 มี.ค. 2566 ถึง วันที่ 31 ธ.ค. 2566) รวม 292 วัน
วิธีคำนวณ เงินปันผล = ทุนเรือนหุ้น x อัตราเงินปันผล x ระยะเวลา(จำนวนวัน)
100 จำนวนวัน(ในปี)
= 10,000 x 5.25 x 292 = 420.00 บาท
100 365
นำยอดเงินที่คำนวณได้จากทั้ง 3 ส่วน มารวมกัน = 5,250 + 298.16 + 420.00 = 5,968.16 บาท
เพราะฉะนั้น นายบุญมี จะได้รับเงินปันผลทั้งสิ้น 5,968.16 บาท
วิธีการคำนวณเงินเฉลี่ยคืน
นำยอดดอกเบี้ยเงินกู้ที่จ่ายให้กับสหกรณ์ในแต่ละเดือนทั้ง 12 เดือน (ม.ค. – ธ.ค.) ได้ยอดรวมเท่าใด
คูณด้วยอัตราเงินเฉลี่ยคืน ซึ่งที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีได้มีมติกำหนดให้ในปีนั้น
ตัวอย่าง นายบุญมี กู้เงินจากสหกรณ์และจ่ายดอกเบี้ยตลอดปี 2566 ให้กับสหกรณ์รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 100,000 บาท
สมมุติ ที่ประชุมใหญ่มีมติให้จ่ายเงินเฉลี่ยคืนในอัตราร้อยละ 10.50
วิธีคำนวณ เงินเฉลี่ยคืน = ดอกเบี้ยรวมทั้งหมดปี 2566 x อัตราเฉลี่ยคืน
= 100,000 x 10.50 = 10,500.00 บาท
100
เพราะฉะนั้น นายบุญมี จะได้รับเงินเฉลี่ยคืนทั้งสิ้น 10,500.00 บาท
อัตราเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนแต่ละปี (ย้อนหลัง)
รายการ/ประจำปี | 2557 | 2558 | 2559 | 2560 | 2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2565 | 2566 |
เงินปันผล (%) | 6.20 | 6.20 | 6.20 | 6.20 | 6.20 | 6.00 | 5.50 | 5.04 | 5.41 | 5.25 |
เงินเฉลี่ยคืน (%) | 15.00 | 15.00 | 12.30 | 12.50 | 12.50 | 11.75 | 10.57 | 10.35 | 10.58 | 10.50 |
หมายเหตุ ตั้งแต่ปี 2543 สหกรณ์จ่ายเงินปันผลได้ไม่เกินร้อยละ 10 ตามประกาศกฎกระทรวง